กีฬาหมากล้อม

By | ธันวาคม 18, 2020

กีฬาหมากล้อม หรือที่เรียกกันสั้นๆว่า โกะ เป็นกีฬาที่ไม่ได้เน้นใช้กำลัง แต่เน้นการใช้สมองในการต่อสู้กับฝ่ายตรงข้าม กีฬาหมากล้อมอาจไม่ใช่กีฬาที่เล่นเพื่อฝึกความแข็งแรงของร่างกาย แต่ก็เป็นกีฬาที่ช่วยฝึกสมอง ฝึกสมาธิของผู้เล่น และช่วยพัฒนาในระบบประสาทและสมองได้ด้วย

หมากล้อม เป็นกีฬาเกมหมากกระดาน ซึ่งเป็นการแข่งขันที่ผู้เล่นทั้งสองคนต้องเชือดเฉือนกันด้วยการนำหมากไปล้อมเอาพื้นที่บนกระดานจากฝ่ายตรงข้ามให้ได้มากที่สุด หากใครได้พื้นที่บนกระดานมากที่สุกจะเป็นผู้ชนะ กีฬาหมากล้อมมีต้นกำเนิดมาจากประเทศจีน เมื่ออายุประมาณกว่า 4,000 ปีมาแล้ว เป็นเอกลักษณ์ที่แสดงให้เห็นถึงความเก่าแก่ของวัฒนธรรมและอารยธรรมจีน

หมากล้อม หรือ โกะนั้นพัฒนามาจากเกมหมากกระดานที่ชื่อว่า เหวยฉี ซึ่งเป็นเกมหมากกระดานที่นิยมเล่นกันในหมู่ชั้นสูงและขุนนาง ในช่วงสมัยนั้นเหวยฉีได้ถูกตั้งให้เป็นเกมหมากกระดานประจำชาติจีน และถูกจัดให้เป็น 1 ใน 4 ศิลปะประจำชาติจีน ซึ่งประกอบไปด้วย หมากล้อม กลอน ดนตรี ภาพ ในเวลาต่อมา เหวยฉี ได้ถูกเผยแพร่เข้าไปที่ประเทศญี่ปุ่นและประเทศเกาหลี และเมื่อเผยแพร่เข้าไปในประเทศญี่ปุ่น ชาวญี่ปุ่นจึงได้มีการพัฒนาและเรียกขานเหวยฉีใหม่ ในชื่อ โกะ ทำให้ประเทศญี่ปุ่นกลายเป็นแผ่นดินทองของโกะมาจนถึงปัจจุบัน ในสมัยนั้นโกะที่รุ่งเรืองอย่างมากในประเทศญี่ปุ่น ถึงขนาดที่มีการสนับสนุนให้ทหารญี่ปุ่นเล่นโกะ แทนการต่อสู้ด้วยการรบ เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงการใช้กำลัง แต่ใช้สติปัญญาและความคิดในการต่อสู้แข่งขันกันแทน และนี่จึงเป็นจุดกำเนิดของกีฬาหมากล้อม หรือโกะ ที่มีจุดประสงค์หลักในการลดการต่อสู้ด้วยกำลังและหันมาฟาดฟันกันด้วยสมอง

ในปัจจุบันนี้กีฬาหมากล้อมหรือโกะได้กลายเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก การเล่นกีฬาหมากล้อมมีอย่างแพร่หลายและแทบทั่วภูมิภาค ไม่ว่าจะเป็นทวีปออสเตรเลีย ทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปอเมริกาใต้ ทวีปยุโรป ทวีปแอฟริกาใต้ ทวีปเอเชีย เกือบทุกประเทศทั่วโลก และประเทศไทยเองก็ได้รับการเล่นกีฬาหมากล้อมเข้ามาจนถึงขนาดที่ได้มีการจัดแข่งขันกีฬาหมากล้อมด้วย

เมื่อปีพ.ศ.2526 ประเทศไทยได้เข้าเป็นสมาชิกสหพันธ์หมากล้อมนานาชาติ และในปีพ.ศ. 2527 ได้มีการส่งตัวแทนนักกีฬาหมากล้อมไปแข่งครั้งแรกที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ต่อมาเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2536 ได้มีการก่อตั้งชมรมหมากล้อม (โกะ) อย่างเป็นทางการ โดยนายก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ เป็นผู้ก่อตั้ง จนทำให้กีฬาหมากล้อมกลายเป็นที่นิยม มีผู้เล่นมากขึ้นจนถึงขนาดมีการบรรจุกีฬาหมากล้อมเป็นหนึ่งในกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย 

กีฬาหมากล้อมถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อเป็นกีฬาที่ลดการต่อสู้แต่เพิ่มการใช้สมอง เป็นกีฬาที่ใช้ความคิด ไหวพริบ สมาธิในการแข่งขัน แทนการใช้กำลังในการแข่งขันแบบกีฬาอื่นๆ กีฬาหมากล้อมจึงช่วยในเรื่องการฝึกระบบประสาทและสมอง ทำให้ผู้เล่นมีสติ สมาธิและไหวพริบที่ดีมากขึ้น หากใครที่อยากเล่นกีฬาที่บริหารสมอง ไม่ต้องใช้กำลัง กีฬาหมากล้อมก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจมากทีเดียว

 

สนับสนุนโดย   ufabet เว็บแม่