ผมไม่เข้าใจ Michelle Wei

By | มีนาคม 19, 2017

เพราะการกีฬากระทบต่อมนุษยชาติทุกมิติ ทั้ง เศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม วิถีชีวิต และครอบครัว เมื่อวันพุธที่ผ่านมาในคอลัมภ์ VIP ของสยามกีฬาได้สัมภาษณ์ คุณศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นประโยชน์มาก เพราะท่านเน้นกีฬาในมุมกว้างต่อประเทศ และมีมุมมอง ที่น่าสนใจ ผมรู้จักท่าน ดี และคงจะมีโอกาสได้ร่วมมือกับท่านทำโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อกีฬาต่อไป

เป้าหมายในการเขียนบทความของผม คือ ต้องการจะให้มีผลกลับมาในลักษณะเป็น “ชุมชนกีฬาแห่งการเรียนรู้” ซึ่งผมก็จะตอบกลับไปใน Blog หรือในบทความแต่ละอาทิตย์ ผมอยากให้คนที่ อยู่นอกวงการกีฬาเข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนความคิดและนำไปปฏิบัติด้วย และจะดียิ่งขึ้นถ้าขยายวงไปสู่คนกลุ่มใหม่
ขอขอบคุณคุณระวิ โหลทอง ที่ให้การสนับสนุนอย่างดียิ่ง ผมประชาสัมพันธ์ผ่านรายการวิทยุ ชื่อ Human Talk ทาง F.M. 96.5 MHz. ทุก ๆ วันอาทิตย์ 6 โมงเช้า ให้แฟนรายการวิทยุติดตามอ่าน บทความใน “สยามกีฬา” ด้วย

และขอขอบคุณที่สยามกีฬาได้นำเสนอบทความนี้ทางอินเตอร์เน็ต (www.siamsport.co.th) ซึ่งก็สามารถติดตามอ่านบทความย้อนหลังได้ด้วย ต้องขอความกรุณาให้ทีมงานสยามกีฬาอัพเดทบ ทความให้ทันเหตุการณ์ด้วย จะได้ทราบว่ามีคนเข้ามาอ่านบทความใน Web กี่คน อย่างบทความของผม “บทเรียนจากความจริง” ทางหนังสือพิมพ์แนวหน้าทุกวันเสาร์ Web ของแนวหน้า (www.naewna.com) อ่านง่าย และ ผู้อ่านติดตามได้ใน Web ซึ่งแฟนพันธุ์แท้ทาง Web อยู่มากพอสมควร ขอบคุณพี่วารินทร์ พูนศิริวงศ์ และกองบก. แนวหน้าด้วย ผมชื่นชมในความกล้าหาญ มีจุดยืน มีแนว ร่วมทำเพื่อส่วนรวม
ผมอยากจะเป็นครอบครัวข่าว “กีฬา” ของคุณระวิ เพราะดูน้อง ๆ ก็เก่งกันมาก แต่ต้องฝึกการมองกีฬาให้กว้าง เป็นวิทยาศาสตร์ เน้นยุทธศาสตร์มากขึ้น สนใจภาษาต่างประเทศหลาย ๆ ภาษา อย่างแนวคิดที่คุณระวิจะเอาแมกกาซีนฝรั่งด้านกีฬามาแปลให้คนไทยได้เรียนรู้ก็น่าสนใจ

บทความที่ผ่านมาผมเน้นฟุตบอลและพูดถึงทีมที่ผมชอบมาเกือบ 50 ปี คือ ทอตแนม ฮอตสเปอร์ และตลอด 7 วันของ “สยามกีฬา” ก็มีน้อง ๆ นักข่าวเขียนถึงทอตแนมฮอตสเปอร์มากมาย แสดงว่า แม้ว่าน้อง ๆ จะเกิดไม่ทันผม แต่ก็มีความเข้าใจและสนใจทีมอย่างสเปอร์มาก ถือว่ามีแฟนคลับของสเปอร์อยู่บ้างแล้ว และในอนาคตปีใดเกิดชนะ League สำเร็จ ก็คงจะสร้างแฟนพันธุ์แท้สเปอร์ได้มากขึ้น

เมื่อเช้าวันจันทร์ที่ผ่านมาได้มีการวิเคราะห์ทีมสเปอร์โดยหนังสือ Sunday Time ของ London ว่า ปีนี้ ทำไมมีการซื้อขายมากเหลือเกิน ขายก็เยอะ ซื้อก็เยอะ ปีที่แล้วกองหลังก็ยังไม่ดี ซื้อแต่กองหน้าเพราะอะไร ซันเดอร์แลนด์เป็นสเปอร์ 2 หรือไม่? เพราะซื้อตัวสเปอร์ไปกว่า 40 คน

สเปอร์มีมีนักเตะดีแต่มักจะเก็บไว้ไม่ได้ แต่ขายแล้วดูได้กำไรดี เช่น ไมเคิล คาริค หรือคีน ที่เพิ่งขายให้ลิเวอร์พูลไป ถ้าวันใดทำสำเร็จ คือ ไปอยู่แชมเปี้ยนลีกได้สำเร็จ ก็จะได้เงินปีละ 450 ล้านปอนด์  ดังนั้น คุณรามอส กุนซือของสเปอร์ ก็ต้องทำให้สำเร็จ ก็คือ อยู่ใน Top 4 และเล่นในแชมเปี้ยนลีกให้ได้

ผมคิดว่า ครอบครัวนักข่าวสยามกีฬามีความรู้เรื่องสเปอร์มากและรู้จริงด้วย พวกเราก็จะช่วยกันสร้างกลุ่มสเปอร์ต่อไป อาทิตย์นี้ ผมขอขอบคุณลูกศิษย์ปริญญาเอกหลาย ๆ คนที่เข้ามาใน Blog แล้ว หลาย ๆ คนก็แสดงจุดที่น่าสนใจอย่างน้อย ผมเลือกมา 2 – 3 เรื่อง อย่างเรื่องแรกเป็นแนวคิดขอคุณสร้อยสุคนธ์ ซึ่งเขียนถึงผม

เมื่อวันที่ …เขียนว่า “A Sporting Mind อะไรที่ทำให้นักกีฬา เหรียญทองแตกต่างจากพวกเรา? อุปกรณ์การฝึกฝน? ผู้ฝึกสอนดีกว่า? ผู้เชี่ยวชาญด้านการฝึกสมองกล่าวว่าเคล็ดลับของยอดนักหวดระดับโลกอย่างโรเจอร์ เฟดเดอเรอร์ และ ไทเกอร์ วูดส์ ก็คือ Sports Psychology (จิตวิทยาการกีฬา) Dan Roberts พบว่าทำไมการฝึกจิตจึงเป็นหัวใจสำคัญ…นักกีฬาระดับโลกมีลักษณะภาวะความเป็นผู้นำประเภทหนึ่งซึ่งจะต้องมีวินัยและพัฒนาตนเองเสมอภายใต้ทฤษฎี 3 วงกลม สภาพแวดล้อม การฝึกฝน และแรงจูงใจของชัยชนะในเกมส์กีฬาเป็น Key Success Factor ที่มีรางวัลเป็นทั้งเกียรติและเงิน.. (ติดตามอ่านแบบเต็มได้ทาง Blog: เรียนรู้จากกีฬา กับ ดร.จีระที่ www.gotoknow.org/blog/chiracademy)

ผมชอบวิธีการมองของคุณสร้อยสุคนธ์ เพราะการจะเก่งเรื่องกีฬาได้จะต้องมีทั้ง Head และ Heart ดังนั้น การศึกษาความสามารถของคนต้องเป็นมิติต่าง ๆ ของมนุษย์ เช่น มีทุกอย่าง มีฝีมือแต่จิต ใจต้องนิ่ง

พูดถึงเรื่อง Sport Psychology ก็ถือโอกาสพูดถึงมิเชล วี (Michelle Wei) ผมติดตามความสามารถของมิเชลมาตลอด แต่ก็ยังไม่เข้าใจว่าทำไมเธอจึงมีพฤติกรรมที่แปลกและสร้างความสงสัยให้วง การกีฬากอล์ฟ ทั้งผู้หญิงและผู้ชายอย่างมาก มิเชลเป็นนักกอล์ฟที่ถูกมองว่าแข็งนอก อ่อนใน คือสังคมภายนอกยกย่องแต่สังคมกอล์ฟอาชีพผู้หญิงไม่ประทับใจมีค่านิยมและพฤติกรรมเกี่ยวกับการมีชื่อเสียงที่แปลก ถูกมองว่าไม่ชนะมืออาชีพเลยสักเรื่อง แต่อยากดังแบบไร้เหตุผล

ล่าสุด มิเชล ก็ยังไม่เคยชนะ LPGA ผู้หญิง แต่แทนที่จะทุ่มเท เป็นที่ยอมรับของนักกอล์ฟด้วยกัน และลงแข่งระดับ Major ของผู้หญิง หล่อนก็ตัดสินใจไปแข่ง PGA ของผู้ชาย ซึ่งที่ผ่านมาก็ยัง ไม่ประกาศความสำเร็จสักครั้งเดียว คือ นอกจากไม่เคยชนะแล้ว ยังไม่ผ่านการคัดตัวด้วย ล่าสุดการแข่งขัน PGA ที่ Reno วันที่ 2 ก็เกินมา +9 ซึ่งยังเป็นคะแนนที่ระดับมืออาชีพเขารับไม่ได้จริง ๆ ผมลองคิดเล่น ๆ โดยศึกษามิเชลว่ามีบทเรียนอะไรให้เยาวชนเรียนรู้ ไม่ว่าจะเป็นกีฬาหรือบันเทิงหรือเรื่องอื่น ๆ อย่างน้อย 2 – 3 เรื่อง เวลามีโอกาส อย่าให้หลุดลอยไปต้องทำให้สำเร็จ

หากมิเชลยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ คือเดินสายกลางก็คงจะรอดได้
หรือถ้ามิเชลใช้แนวคิดการพัฒนาทุนมนุษย์ ( 8 K’s ) ของผม K คือ ทุน 8 ชนิดของมนุษย์ซึ่ง ผมเน้น ทุนแห่งความยั่งยืน เน้นว่าทำอะไรต้องมองการอยู่รอดระยะยาวมากกว่าระยะสั้น ๆ
บริหารชื่อเสียงที่สังคมยกให้ให้เกิดมูลค่าจริง ๆ ในระยะยาว ไม่ใช่มูลค่าจอมปลอมระยะสั้น ผมก็จะเฝ้าดูมิเชลต่อไปว่าความสำเร็จของเขาจะไปจบที่จุดไหน และอะไรคือสาหตุที่ทำให้เขามี พฤติกรรมที่ประหลาด ในมุมมองของผมคิดว่าสาเหตุน่าจะมาจากเหตุผลดังต่อไปนี้มิเชลเก่งเกินไป และประสบความสำเร็จในวัยเด็ก

           คำว่าเก่งสำหรับมิเชลก็คือ เก่งเมื่อเทียบกับเด็กผู้หญิงรุ่นเดียวกัน แต่ไม่ได้เก่งเมื่อเทียบกับมาตรฐานของกอล์ฟผู้หญิงอย่างที่ควรจะเป็น ทุนนิยมทำให้เขามีค่านิยมที่ไม่ยั่งยืน เพราะมีธุรกิจมาจ้าง เขาเป็นตัวแทน และได้เงินมากเกินกว่าที่เขาจะเห็นคุณค่า ผมเข้าใจว่า Nike ให้เขาเป็นพรีเซนเตอร์ได้เงินหลายร้อยล้าน แต่เงินก็คงไม่ใช่สิ่งที่สำคัญที่สุดถ้ามิเชลรู้จักตัวเอง

พ่อแม่เป็นที่ปรึกษาที่ดีหรือไม่ พ่อแม่ปลูกฝังค่านิยมที่ถูกต้องหรือเปล่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา คุณนาวิน เจริญพร ก็ได้ร่วมแสดงความคิดเห็นใน Blog ด้วย บอกว่า “อยากให้วิเคราะห์ว่าเหตูใดการกีฬาในประเทศไทยตอนที่เป็นเยาวชนทำไมถึงเก่งมากได้รางวัลมากมายแต่พออายุมากขึ้นจึงไม่ค่อยจะได้เรื่องได้ราวมันเกี่ยวกับเรื่องทุนต่างๆ(8K)หรือเปล่า

เพราะเรามีความสามารถในตอนอายุน้อยๆแต่พออายุมากเรากลับแย่เราจะต้องปรับอะไรตรงไหนเพราะท่านอาจารย์เป็นบุคคลที่มีต้นทุนทางสังคมสูงมากน่าจะสะกิดให้ผู้ที่มีหน้าที่ในการรับผิดชอบหันมา มองให้ตรงจุดโดยการใช้แนวคิดพัฒนาวงการกีฬาไทยเพื่อความฝันอย่างน้อยก็เพื่อให้เราอยู่ในความฝันที่น่าที่จะเป็นความจริงบ้าง ด้วยความเคารพอย่างสูง เด็กเทพศิรินทร์และผู้ที่ท่านอาจารย์อนุเคราะห์ให้ ร่วมเข้าฟังการบรรยายป.เอกสวนสุนันทา”

คำถามที่ถามก็น่าสนใจ คือ ตอนเด็กไทยเก่งแต่ตอนอายุมากขึ้นแล้วไม่สำเร็จ คำตอบก็คือ ขาดวินัย ขาดการวางแผนชีวิต ขาดทักษะในการดำรงชีวิตคล้ายกับพ่อแม่ให้ลูกเรียนพิเศษแต่ไม่เคยให้ลูก รู้จักการดำรงชีวิต พอสอบเข้ามหาวิทยาลัยดี ๆ ได้ แต่เรียนไม่ดี ปรับตัวไม่ได้ก็ฆ่าตัวตายชีวิตของคนเราต้องมองให้ครบว่าอายุ 30, 40, 50 จะประสบความสำเร็จยั่งยืนหรือไม่ ?

คุณนาวินครับ อย่าว่าแต่เด็กเลยแม้แต่ผู้ใหญ่เองบางครั้งก็มองอะไรผิด ๆ เช่น คุณสมรักษ์ คำสิงห์ ชนะเหรียญทองโอลิมปิกแต่หลังจากนั้นชีวิตล้มเหลว ชีวิตจริงเป็นแบบอย่างให้คนรุ่นหลังได้ หรือไม่?

       นักกีฬาอีกคนที่ผมชอบวิเคราะห์ คือ Mike Tyson ตอนหนุ่มเก่งมากแต่การดำเนินชีวิตในระยะยาวผิดพลาดหมด แต่จอร์ช โฟร์แมนซึ่งอาจจะไม่เก่งเท่าไมค์ แต่คิดเป็น วิเคราะห์เป็น การดำเนินชีวิต ของเขาในระยะยาวก็อยู่รอด บทเรียนครั้งนี้ก็ไม่ใช่ดีสำหรับนักกีฬา เท่านั้น แต่ดีสำหรับทุกอาชีพ แม้แต่อาชีพนักการเมืองซึ่งบางครั้งแม้จะมาจากครอบครัวที่มีอำนาจ มีเงิน แต่ถ้าไม่รู้จักพอ โลภ แล้วจะ เหลืออะไรไว้เป็นมรดกความดีต่อสังคมไทย